วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์การให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็นหนึ่ง คือ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาด
ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น ผู้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบ หรือที่สอนเพื่อตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง ความเป็นเจ้าของ (Information Property) สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น
ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น สำหรับท่านเองหลังจากที่ท่านเปิดกล่องหรือบรรจุภัณฑ์แล้ว หมายถึงว่าท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว หรือไม่อนุญาตให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ ท่านเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตาม ในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้นได้หลายๆ เครื่อง ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด
การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น
ที่มา http://www.jariyatam.com/ethics-of-using-computer

ตอบคำถามหน้า 61

3.ข้อควรระวังในการสืบค้นข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง
      1.    ไวรัสคอมพิวเตอร์   ทำลายข้อมูลในระบบเครือข่าย เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและประเทศชาติ
                Internet เป็นเครือข่ายที่โยงใยระบบคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องทั่วโลก  ดังนั้นหากเครื่องใดมีไวรัสในเครื่องใดเครื่องหนึ่งก็จะทำให้ไวรัสนั้นแพร่กระจายไปยังเครื่องอื่นๆ ถ้าเครื่องต่าง ๆ เหล่านั้นไม่มีระบบป้องกันไว้  การนำ Diskette ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงควรตรวจและกำจัดไวรัสใน Diskett นั้นก่อน

        2.    เป็นที่เผยแพร่ภาพลามกอนาจาร  ทำลายศีลธรรมอันดีงาม
                   การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการเผยแพร่ลัทธิ  ความเชื่อที่ผิด ๆ  เว็บยาเสพติด เว็บการพนัน เว็บฉ้อโกง เว็บหยาบโลน เว็บเกม เว็บลัทธิ เว็บขายอาวุธ  เว็บที่ทำลายศีลธรรมอันดีงาม ซึ่งเผยแพร่ได้ทั่วไปทางอินเทอร์เนต

        3.    มิจฉาชีพใช้ในการล่อลวง
                         ต้องระวังผู้ไม่หวังดีหลอกลวงโดยผ่านอินเทอร์เนต เพราะเราไม่เคยรู้จักคู่สนทนาด้วย  และไม่ควรหลอกลวงผู้อื่นด้วย

       4.     ไม่เป็นผู้ทำลายข้อมูล  ข้อมูลที่เป็นความลับ  ทำลายความสงบสุขของสังคม

        5.    หมกมุ่นกับการ search web ที่ไร้สาระ เสียเวลา

        6.    มีมารยาทการใช้  การตอบคำถามหรือการส่งคำถาม  แสดงความคิดเห็น ควรใช้ถ้อยคำสุภาพ

        7.    การซื้อขายสินค้าทางอินเทอร์เนตต้องตรวจสอบสินค้าและแหล่งขายให้ดีก่อน

        8.    ควรใช้อินเทอร์เนตเพื่อการสร้างสรรค์ มิใช่ใช้เพื่อการเสพสิ่งมอมเมาไร้สาระ

4.จงกล่าวถึงรูปแบบการเผยแพร่สารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์มา 2 รูปแบบ
    1.เผยแพร่ผ่านทาง blogger
    2.เผยแพร่ทาง facebook

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนะนำตัวเอง

เด็กหญิงวัจนีย์  โคมพิทยา   ม.2/1    เลขที่ 24
 โรงเรียนตากพิทยาคม    ปีการศึกษา 2554
อาจารย์ผู้สอน  อ.พุธชาติ  มั่นเมือง